"6 เทคนิคสร้างความรู้สึกปลอดภัยให้ลูกน้อง"


🚧 "6 เทคนิคสร้างความรู้สึกปลอดภัยให้ลูกน้อง"
(SAFE ZONE MANAGEMENT)
 🚧

🚨 ถ้าหัวหน้าเชื่อว่า....ส่วนสำคัญของผลงานและความสำเร็จของทีมมาจากลูกน้อง
🚨 ถ้าหัวหน้าเชื่อว่า....ปัญหาในการทำงานส่วนใหญ่ เกิดจากลูกน้องไม่อยากทำ มากกว่า ไม่มีความรู้ (แรงจูงใจ)
🚨 ถ้าหัวหน้าเชื่อว่า....เรื่องที่ปวดหัวในการทำงานวันนี้ มาจาก คน มากกว่า งาน
บทความนี้เหมาะกับ "คุณ" มาก
ยาวหน่อย แต่ โคตรดี.....👍
--------------------------------------------------
คนจะสร้างผลงาน มีปัจจัยสำคัญอยู่ 3 อย่างคือ
1. ขีดความสามารถ (รู้ / ไม่รู้)
2. แรงจูงใจ (อยาก / ไม่อยาก)
3. โอกาสที่จะได้ทำ (มี / ไม่มี)
#ปัญหาเรื่องผลงานไม่พ้น3ปัจจัยนี้ 👨‍💼
ถ้าคุมควบ 3 ปัจจัยนี้ได้ "ผลงาน" ก็อยู่ในกำมือ
แต่.......มี 1 ใน 3 นี้ ควบคุมและบริหารยากมาก
คือ.......แรงจูงใจ 😍
แล้ว "แรงจูงใจ" บังคับกันไม่ได้ !!
เขาต้อง "อยาก" เท่านั้นถึงจะทำ ทำอย่าง "เต็มที่"
สมองไม่ชอบ "ความกลัว" หากจะเค้น "ศักยภาพ"
ของคนต้องทำให้เขารู้สึก "ปลอดภัย" ก่อน
แล้วจะทำให้ลูกน้องรู้สึกอย่างนั้นได้ยังไง.......
--------------------------------------------------
🚧 "6 เทคนิคสร้างความรู้สึกปลอดภัยให้ลูกน้อง"
(SAFE ZONE MANAGEMENT) 🚧
🔕 #พูดให้น้อยฟังให้มากขึ้น ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าการที่ "หัวหน้า" พูดน้อย ไม่ได้หมายความ "ลูกน้อง" จะพูดมากขึ้น เพียงแต่ถ้าหัวหน้าฟังมากขึ้น ลูกน้องมีแนวโน้มอยากพูด ซึ่งหัวหน้าต้องเปลี่ยน "คำสั่ง" เป็น "คำถาม" ด้วย ถามให้ลูกน้องได้คิด , ถามให้ลูกน้องมีส่วนร่วม ถามกระตุ้นให้ลูกน้องพูดเยอะขึ้น และผมเชื่อว่าแค่การฟังจะสร้างพื้นที่ปลอดภัยได้

🎁 #ให้โอกาส สร้างพื้นที่ สร้างเวที ให้ลูกน้องได้คิด ได้พูด ได้นำเสนอไอเดีย ได้ขับเคลื่อนความคิดตัวเอง ได้เลือกวิธีการทำงานด้วยตัวเอง ที่สามารถไปสู่ผลลัพธ์ที่หัวหน้าและองค์กร อยากได้เหมือนกัน ใครๆก็อยากทำถ้าความคิดนั้นมีส่วนมาจากตัวเอง เนอะ.....

👉 #เปลี่ยนจากการออกคำสั่งและควบคุมมาเป็นการมอบหมาย การออกคำสั่ง ลูกน้องจะรู้สึกว่าไม่ได้เป็นเจ้าของผลงานต้องทำตามเส้นที่หัวหน้าขีดไว้ทั้งขั้นตอน ทั้งวิธีการ แต่การมอบหมาย ลูกน้องจะมีพื้นที่ มีช่องว่างและได้เรียนรู้การตัดสินใจ การคิด การแก้ปัญหาเองผ่านช่องว่างนี้ ลูกน้องมีอิสระมากขึ้น นอกจากลูกน้องจะรู้สึกภูมิใจต่อผลงานตัวเองมากขึ้นแล้วยังได้พัฒนาศักยภาพลูกน้องอีกด้วย คุ้มจริงๆ

🏆 #ไม่กลัวความผิดพลาด บางครั้งหัวหน้า บังเอิญ บังเอิญนะครับ ใช้คำว่า บังเอิญ (😅) เผลอไปสร้างกฎการทำงานโดยไม่รู้ตัว ไปบอกลูกน้องห้ามทำงานผิดจนเกิดเป็นวัฒนธรรม "จับผิด" ชื่อก็บอกอยู่แล้วใครผิด จะจับ ลูกน้องก็กลัว จน...มีทางออกที่บังเอิญเหมือนกัน คือ "ไม่ต้องทำ จะได้ไม่ต้องผิด" งานเข้าแล้วที่นี้ !! บางครั้ง ความล้มเหลวผิดพลาด ก็มีมุมดีเหมือนกันคือมันเป็นข้อมูลที่ดีในการนำไปสู่ความสำเร็จ (แต่ผิดซ้ำบ่อยๆ เรื่องเดิมอันนี้ก็ไม่ได้) กับดัก ของหัวหน้างานที่น่ากลัวอีกอย่างหนึ่งก็คือ "กลัวความผิดพลาดเกินไป จนไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ" และแน่นอนว่าธรรมชาติของการทำงานย่อมมีปัญหาหัวหน้ามีหน้าที่เปลี่ยนเรื่องนี้ให้เป็นบทเรียน ให้ลูกน้องได้เรียนรู้ ไม่ใช่ "ขยี้" แล้วพื้นที่ความปลอดภัยจะขยายวงกว้างขึ้น

🎯 #ขับเคลื่อนความคิดที่มาจากทีม การสร้างความร่วมไม้ ร่วมมือ เป็นทิศทางในการทำงานยุคดิจิทัจที่สำคัญ เพราะภารกิจหลังจากนี้ จะหลากหลาย ซับซ้อนขึ้น ต้องยอมรับว่าวันนี้หัวหน้าแกร่งคนเดียวอาจไม่รอด ทีมต้องแกร่งด้วย การสร้างความรู้สึกการมีส่วนร่วมเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากมันจะสร้างพื้นที่ปลอดภัยมากขึ้นแล้วยังช่วยให้ หัวหน้า มีข้อมูล มีทิศทาง มีแรงสนับสนุน ในการบริหารจัดการได้ดีขึ้นอีกด้วย

📣 #ชมเชยสร้างแรงเหวี่ยง "คำพูดคำเดียวเปลี่ยนชีวิตคนไปทั้งชีวิต" จะ "ปัง!!" หรือ "พัง!!" เท่านั้นเอง การติดตามให้กำลังใจในผลงานที่ลูกน้องทำ หรือ แม้จะทำไม่สำเร็จ ก็ชมได้ เพียงแค่แยก "ความพยายาม" กับ "ผลลัพธ์" ออกจากกัน ชื่นชมในความพยามยามและ.......แนะนำวิธีการไปสู่ผลลัพธ์ ผมเชื่อว่า "การตำหนิ" ไม่ทำให้ผลลัพธ์ดีขึ้น(อย่างยั่งยืน) ถ้าจะทำได้ต้องมีศิลปะในการตำหนิ สำหรับผม แก่นของการตำหนิคือ "การให้เขาตระหนักรู้ถึงผลเสียและอยากปรับปรุงมัน" เพราะฉะนั้น "การเกรี้ยวกราด" จึงใช้ไม่ได้
--------------------------------------------------
ถ้าอ่านจบ 6 ข้อนี้ไม่ใช้แค่สร้างพื้นที่ปลอดภัยเท่านั้น
แต่มันจะสร้าง...............อื่นๆอีกมากมาย
--------------------------------------------------
อ.ยศศักดิ์ มงคลปัญญาเลิศ
CEO Perfect Training Group

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บริหารคนเก่งฉบับ "ประชาชน" (Talent management)

เทคนิคการบริหารเจ้านาย

หัวหน้าไม่ดีมีนิสัยยังไง